วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2562

รับมือแผ่นดินอาบพิษ หรือรอให้ตายสิ้นชาติ

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หรือ “หมอดื้อ” แผนกประสาทวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สภากาชาดไทย ให้ข้อมูลว่า
“พาราควอต”...รับทราบอันตรายร้ายแรงจิบเดียวตายตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 และตั้งแต่ปี 1985 มีการจับตามองเรื่องความเชื่อมโยงในการทำให้เกิดสมองอักเสบและเกิดโรคสมองเสื่อมพาร์กินสัน โรคมะเร็งยาวนานมาก
จนกระทั่งถึงปี 2000 แม้กระทั่งถึงปี 2012 มีตำราเรียนของแพทย์บอกความเชื่อมโยงของสารเคมีพิษกับสมอง จนกระทั่งถึงปี 2019 สารเคมีพิษเหล่านี้ก็ยังมีการใช้ในประเทศไทย...แม้จะถูกแบนในมากกว่า 50 ประเทศ รวมทั้งเวียดนาม ลาว เขมร...ประเทศที่ยังมีการใช้อยู่เป็นประเทศเล็ก ประเทศน้อย เกาะเล็กๆ
และ...แม้แต่มีการพิสูจน์ชัดเจนถึงเรื่องหนังเน่าและเนื้อเน่าทำให้ต้องตัดขา มีแผลเรื้อรังรักษาไม่หาย รวมทั้งแผลที่ทำให้มีการติดเชื้อซ้ำซ้อน ทำให้เกิดเสียชีวิตปีละเป็น 1,000 คน
ถัดมา...สารเคมี “ไกลโฟเซต” มีการใช้อย่างมโหฬารในประเทศสหรัฐฯ ตั้งแต่ต้นทศวรรษปี 1900 ได้มีการติดตามความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งมาตลอดโดยมีข้อโต้แย้ง และจนกระทั่งถึงปี 2018 จึงได้เกิดมีคดีฟ้องร้องและบริษัทสารเคมีแพ้ต้องชดใช้เป็นเงินหลายร้อยล้าน ฐานที่ไม่แสดงข้อมูลเกี่ยวข้องกับอันตรายที่เกิดขึ้น...
จวบจนวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2019 จึงได้ข้อมูลที่ชี้ชัดถึงการที่ไกลโฟเซต มีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด non hodgkin lymphoma โดยก่อนหน้านั้นเกือบ 10 ปีก็มีข้อมูลอยู่แล้วแต่ไม่เป็นที่ยอมรับจากบริษัทที่ผลิตสารเคมี จนกระทั่งถึงปี 2019 นี้ที่ข้อมูลชัดเจนหนักแน่น และประเทศมาเลเซียแบน
สุดท้าย...สารเคมีฆ่าแมลง “คลอร์ไพริฟอส” ถูกระบุชัดเจนว่าสามารถเข้าไปยังเด็กที่ยังอยู่ในท้องของแม่ ไม่ว่าจะได้รับปริมาณเพียงน้อยนิดแต่เมื่อเกิดมาปัญญาอ่อนด้อยและสามารถพิสูจน์ได้จากความผิดปกติของสมองจากการทำคอมพิวเตอร์สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถระบุตำแหน่งของการควบคุมสติปัญญา ตั้งแต่ปี 2012
โดยมีคำสั่งให้ยกเลิกการใช้ในปี ค.ศ.2018
และ...ต้องเรียนย้ำว่าสารทั้งหมดมีอันตรายได้แม้ปริมาณที่ได้รับในแต่ละวันจะน้อย แต่มีการสะสมในระยะยาวซึ่งมีการทดสอบในสัตว์ทดลองและการติดตามระยะยาวในมนุษย์
ประเด็นสำคัญเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าการที่จะพิสูจน์อันตรายของสารเคมีเหล่านี้ใช้เวลาหลายสิบปี แต่ก็ยังไม่สามารถโน้มน้าวให้ผู้ที่รับผิดชอบตัดสินใจได้...แล้วยังต้องอยู่ในวังวนของผลประโยชน์ของผู้ผลิต ผู้ส่งออก...ผู้นำเข้า...ผู้จำหน่าย ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ในการส่งเสริม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข้อสอบ เรื่อง พันธะเคมี

1. จำนวนพันธะโคเวเลนต์ในโมเลกุล CH 4  , SiCl 4  , NaCl , NH 3   เป็นกี่พันธะมีค่าเรียงตามลำดับ   คือข้อใด     ก. 4 , 4 , 0 , 3      ข. ...